เมนู

บดข้าวแดงแล่งหนึ่ง ๆ ที่ศิลาแล้ว น้อมเข้าไปถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็เสวยพระกระยาหารที่บดถวายนั้น.

[พราหมณ์และชาวเมืองไม่ได้ถวายภัตแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า]


ถามว่า ก็ในเวลาข้าวยากหมากแพง มนุษย์ทั้งหลายเกิดความอุตสาหะ
ทำบุญกันอย่างเหลือเกิน ถึงตนเองก็ไม่บริโภค ย่อมสำคัญของที่ตนควรถวาย
แก่พวกภิกษุมิใช่หรือ ? เพราะเหตุไร ในคราวนั้น พวกมนุษย์เหล่านั้น
จึงไม่ได้ถวายแม้ภิกษาสักทัพพีเล่า, และเวรัญชพราหมณ์นี้ ก็ได้ทูลขอพระผู้มี
พระภาคเจ้าให้อยู่จำพรรษา ด้วยความอุตสาหะเป็นอย่างมาก, เพราะเหตุไร
พราหมณ์นั้น จึงไม่รู้แม้ความที่พระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่ ?
ตอบว่า เพราะถูกมารดลใจ. จริงอยู่ มารได้ดลใจ คือทำเวรัญช-
พราหมณ์ ผู้พอสักว่าหลีกไปจากสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าเท่านั้น และชาวนคร
ทั้งสิ้นให้ลุ่มหลงทั้งหมด ตลอดสถานที่มีประมาณโยชน์หนึ่งโดยรอบ (เมือง
เวรัญชา) อันเป็นสถานที่พวกภิกษุอาจเที่ยวไปบิณฑบาต ในเวลาก่อนฉัน
แล้วกลับมาได้ ทำให้พวกมนุษย์ทั้งหมดกำหนดไม่ได้แล้วก็หลีกไป เพราะ
ฉะนั้น ใคร ๆ จึงไม่ได้ใฝ่ใจถึงกิจที่ตนควรทำ โดยที่สุดแม้สามีจิกรรม.
ถามว่า ก็แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทราบมารจะดลใจหรือ ? จึงทรง
เข้าจำพรรษาในเมืองเวรัญชานั้น.
แก้ว่า ไม่ทรงทราบ ก็หามิได้.
ถามว่า เมื่อทรงทราบเช่นนั้น เพราะเหตุไร จึงไม่ทรงเข้าจำพรรษา
ในบรรดาพระนครแห่งใดแห่งหนึ่ง มีนครจัมปา สาวัตถี และราชคฤห์เป็นต้น ?
แก้ว่า พระนครทั้งหลายมีนครจัมปา สาวัตถี และราชคฤห์เป็นต้น
จงยกไว้, แม้ถ้าว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถึงเสด็จไปยังอุตรกุรุทวีปหรือไตรทศบุรี

แล้วเข้าจำพรรษาในปีนั้นไซร้. มารก็พึงดลใจชาวอุดรกุรุทวีปหรือไตรทศบุรี
แม้นั้นได้. ได้ยินว่า มารนั้น ได้เป็นผู้มีจิตถูกความอาฆาตเข้ากลุ้มรุมอย่างยิ่ง
ตลอดศกนั้น, ส่วนในเมืองเวรัญชานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ได้ทอดพระเนตร
เห็นเหตุการณ์นี้ได้เป็นอย่างดีว่า พวกพ่อค้าม้า จักทำการสงเคราะห์ภิกษุ
ทั้งหลาย เพราะฉะนั้น จึงทรงเข้าพรรษาในเมืองเวรัญชานั่นแล.

[มารได้สามารถทำอันตายแก่ปัจจัย 4 ได้]


ถามว่า ก็มาร ไม่สามารถจะดลใจพวกพ่อค้าได้หรือ ?
แก้ว่า จะไม่สามารถ ก็หามิได้ แต่เพราะพ่อค้าเหล่านั้นได้มาใน
เมื่อประชาชนถูกมารดลใจเสร็จสิ้นลงแล้ว.
ถามว่า เพราะเหตุไร มารจึงไม่กลับมาดลใจอีกเล่า ?
แก้ว่า เพราะไม่เป็นวิสัย จึงไม่กลับมา.
จริงอยู่ มารนั้น ย่อมไม่อาจเพื่อทำอันตราย แก่ภิกษุที่บุคคลนำไป
เฉพาะพระตถาคต แก่นิพัทธทาน แก่วัตถุทานที่บุคคลกำหนดถวายไว้แล้ว.
ความจริง ใคร ๆ ไม่สามารถจะทำอันตรายแก่ปัจจัย 4 ได้. แก่ปัจจัย 4
เหล่าไหน ? ใคร ๆ ไม่สามารถจะทำอันตรายแก่ปัจจัย 4 เหล่านี้ คือ :-
ใคร ๆ ไม่สามารถจะทำอันตรายแก่นิพัทธทาน โดยสังเขปว่า ภิกษา
ที่บุคคลนำไปเฉพาะพระตถาคต หรือแก่ปัจจัย 4 ที่บุคคลบริจาคแล้วแต่
พระตถาคตโดยสังเขปว่าวัตถุทานที่บุคคลกำหนดถวายไว้แล้ว 1.
ใคร ๆ ไม่สามารถจะทำอันตรายแก่พระชนมชีพ ของพระพุทธเจ้า
ทั้งหลายได้ 1,